นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน (Anti-corruption Policy)
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ต้องไม่เรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ เพื่อประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อบริษัทฯ ตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนรู้จัก ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะเป็นผู้รับ ผู้ให้หรือผู้เสนอให้สินบน ทั้งที่เป็นตัวเงินหรือไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งครอบคลุมถึงทุกธุรกิจในทุกประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ โดยต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด และต้องมีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนแนวทางปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดของกฎหมาย
หน้าที่และความรับผิดชอบ
- คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดและอนุมัตินโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน และกำกับดูแลให้มีระบบสนับสนุนการต่อต้านการคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนในบริษัทฯ เข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญและนำไปปฏิบัติจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
- คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามดูแลให้มีการควบคุมภายในที่เพียงพอและสอบทานรายงานผลการตรวจสอบจากสำนักตรวจสอบเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ
- กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และคณะผู้บริหาร มีหน้าที่รับผิดชอบให้มีระบบส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน สื่อสารและฝึกอบรมให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตราการต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
- สำนักตรวจสอบ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามนโยบาย แนวปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่า มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้นและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
- กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงาน มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติและสนับสนุนนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด
- คู่ค้าต้องยอมรับที่จะปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันของบริษัทฯ
- กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชัน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หากพนักงานมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันให้ปรึกษาผู้บังคับบัญชาโดยตรง
- กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ต้องไม่ละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ต้องแจ้งผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบผ่านช่องทางต่างๆ ที่กำหนดไว้ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ
- บริษัทฯ จะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน หรือแจ้งเรื่องคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทฯสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ และมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชันตามนโยบายการแจ้งเบาะแสที่บริษัทฯ กำหนดไว้
- บริษัทฯ จะเผยแพร่ให้ความรู้และทำความเข้าใจกับคู่ค้าในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน รวมทั้งสื่อสารให้ทราบถึงช่องทางการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน
- ผู้ที่กระทำการคอร์รัปชันและผู้มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
- บริษัทฯ จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบและระบบการควบคุมภายใน เพื่อป้องกันมิให้มีการคอร์รัปชัน โดยครอบคลุมทุกระบบงานภายในบริษัทฯ
- บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่าคอร์รัปชันเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ทั้งการทำธุรกรรมกับภาครัฐและภาคเอกชน
- บริษัทฯ กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันผ่านสื่อทั้งภายในและภายนอก เช่น เว็บไซต์บริษัทฯ อินทราเน็ต และรายงานประจำปี
ข้อกำหนดในการดำเนินการ
- นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน ให้ครอบคลุมถึงทุกระบบงานในบริษัทฯ โดยให้ใช้แนวปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณ นโยบายการกำกับดูแลกิจการ ระเบียบ และคู่มือการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติอื่นใดที่บริษัทฯ จะกำหนดขึ้นต่อไป และกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับสื่อสารทำความเข้าใจกับพนักงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งคอยควบคุมดูแลให้มีการนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อความชัดเจนในการดำเนินการในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดคอร์รัปชัน กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังในเรื่องดังต่อไปนี้
- 2.1 การให้และรับสินบน
ห้ามให้หรือรับสินบนในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อตอบแทนการให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจ และห้ามมอบหมายให้ผู้อื่นให้หรือรับสินบนแทนตนเอง - 2.2 ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
บริษัทฯ มีนโยบายให้ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ไม่พึงรับหรือให้ของขวัญ การบริการต้อนรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ใดที่เกินกว่าความจำเป็น โดยให้ยึดถือปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของบริษัทฯ - 2.3 การช่วยเหลือทางการเมือง
การช่วยเหลือทางการเมือง (Political Contributions) หมายถึง การให้การสนับสนุนทางการเงิน สิ่งของและ/หรือการเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนการส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในนามของบริษัทฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางธุรกิจการค้า ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการที่พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมตามสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่จะต้องไม่แอบอ้างความเป็นพนักงาน หรือนำทรัพย์สิน อุปกรณ์ เครื่องมือใดๆ ของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการใดๆ ในทางการเมือง บริษัทฯ เป็นองค์กรทางธุรกิจที่เป็นกลางทางการเมือง ให้การสนันบสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข บริษัทฯ ไม่มีนโยบายช่วยเหลือ สนับสนุนพรรคการเมือง หรือนักการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม - 2.4 เงินบริจาคเพื่อการกุศล หรือเงินสนับสนุน
บริษัทฯ สนับสนุนการมีส่วนร่วมกับชุมชนในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงให้กับสังคม หรือให้เงินสนับสนุนเฉพาะกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ หรือชื่อเสียงที่ดีของบริษัทฯ การบริจาคเพื่อการกุศลหรือให้เงินสนับสนุนต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ขัดต่อศีลธรรม หรือไม่มีเจตนาแอบแฝงเพื่อความได้เปรียบทางการค้า รวมถึงต้องมั่นใจว่าเงินบริจาคหรือเงินสนับสนุนไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน โดยให้ยึดถือปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของบริษัทฯ - 2.5 ค่าอำนวยความสะดวก
ค่าอำนวยความสะดวก (Facilitation Payment) หมายถึง ค่าใช้จ่ายจำนวนเล็กน้อยที่จ่ายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นการให้เพียงเพื่อให้มั่นใจว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการตามกระบวนการ หรือเป็นการกระตุ้นให้ดำเนินการรวดเร็วขึ้น เช่น การขอใบอนุญาต การขอหนังสือรับรอง และการได้รับการบริการสาธารณะ เป็นต้น บริษัทฯ ไม่มีนโยบายจ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวกในรูปแบบใด ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยจะไม่ดำเนินการใด ๆ และไม่ยอมรับการกระทำใด ๆ เพื่อแลกกับการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ - 2.6 การว่าจ้างเจ้าหน้าที่รัฐ/พนักงานรัฐ
เจ้าหน้าที่รัฐ/พนักงานรัฐ หมายถึง การที่บุคคลผู้เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ/นักการเมือง/ที่ปรึกษาของหน่วยงานรัฐ และได้เข้ามาทำงานให้กับบริษัทเอกชน และอาจอาศัยความสัมพันธ์หรือข้อมูลภายในไปเอื้อประโยชน์แก่บริษัทเอกชนหรือก่อให้เกิดภาวะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรกำกับดูแลธุรกิจกับบริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล โดยผลของการกระทำนั้นมุ่งหวังให้เกิดความได้เปรียบทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม หรือ การกำหนดนโยบายเอื้อประโยชน์เอกชนที่อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นทำงานให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องถิ่น หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ และบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ
สำหรับการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐหรืออดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐบริษัทมีแนวปฏิบัติดังนี้
- มีกระบวนการตรวจสอบประวัติ (Due Diligence) ของบุคคลที่บริษัทจะสรรหาเพื่อแต่งตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการ ที่ปรึกษา และผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อตรวจสอบสิ่งที่อาจเป็นประเด็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ก่อนแต่งตั้ง
- ไม่เปิดเผยความลับของหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัดหรือเคยสังกัด
- ไม่มอบหมายให้ติดต่อหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัดหรือเคยสังกัด
- เปิดเผยข้อมูลรายนามและประวัติของบุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับการแต่งตั้งมาเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา และผู้บริหารของบริษัทฯ ในรายงานประจำปี
- 2.1 การให้และรับสินบน